กรุงเทพฯ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค ครองแชมป์ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
กรุงเทพฯ – ความเครียดและความวิตกกังวลเป็นปัญหาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในที่ทำงาน โดยพนักงานประมาณ 40% ระบุว่า ตนเองเผชิญกับความเครียดในระดับที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญในปีที่ผ่านมา1 ด้วยเหตุนี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) บริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยระดับโลก จึงได้เรียกร้องให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการเชิงรุกร่วมกัน เพื่อบริหารจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตของพนักงานภายในองค์กร เนื่องในวัน “Blue Monday” ซึ่งถือเป็นวันที่มีความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่สุดวันหนึ่ง และปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 20 มกราคม อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้เปิดเผยสามปัญหาสุขภาพจิตที่พนักงานทั่วโลกจากหลากหลายภาคส่วนร้องขอความช่วยเหลือเข้ามามากที่สุดในช่วงสามปีที่ผ่านมา2 ได้แก่ 1. โรควิตกกังวล: ความหวาดกลัวและความวิตกกังวลอย่างรุนแรงและเกินกว่าที่ควร มักจะเป็นอาการที่มาพร้อมกับความตึงเครียดทางกาย 2. โรคซึมเศร้า: ภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือหมดความสนใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ พฤติกรรม และสุขภาพร่างกายของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญ 3. โรคแพนิค: ภาวะอาการตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า พร้อมกับความกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอีกเมื่อใด สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต การได้ทำงานที่มีความหมายสามารถส่งผลดีต่อการฟื้นฟูและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความมั่นใจในตนเองและพัฒนาทักษะทางสังคมให้ดียิ่งขึ้น ผลการวิจัยระบุว่า การได้ทำงานส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาพจิตอย่างลึกซึ้งมากกว่าการรักษาทางจิตเวชแบบดั้งเดิมเพียงอย่างเดียว3 อย่างไรก็ตาม หากพนักงานต้องเผชิญกับความเครียดในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ระดับฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลจะเพิ่มสูงขึ้น และแรงกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง และท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟได้ … Continue reading กรุงเทพฯ โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค ครองแชมป์ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed